 |
ความคิดเห็นที่ 27 |
|
ขอตอบแบบยาวๆอีกครั้งนะครับ ทนอ่านนิดนึง.......
คุณ คห 24 ครับ:
ผมต้องขอโทษถ้าเขียนใน คห 18 ไม่ชัดเจนหรืออาจทำให้สื่อความหมายผิดครับ
อย่างแรก ผมไม่ได้ต้องการบอกว่าเรียน ป.เอก ที่ไทยเสียเปรียบคนที่เรียนต่างประเทศไปเสียทุกด้าน แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าการเรียนต่างประเทศมีข้อดีอย่างไรบ้างที่การเรียนที่ไทยไม่สามารถให้เราได้ (เราต้องยอมรับในบางจุดครับ) การเรียนที่ไทยก็มีส่วนดีหลายอย่างเช่น ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้อยู่กับครอบครัว ไม่ต้องปรับตัวเรื่องวัฒนธรรมหรือทนปัญหาความเหงา อาจได้ connections ที่ดีๆจากเพื่อนที่เรียนเอกด้วยกันที่เมืองไทย (อาจจะดีกว่า connections จากเพื่อนที่เรียนต่างประเทศ เพราะพอจบก็ห่างกันไป นานๆก็ลืม แต่ถ้าเป็นคนไทย อยู่ไทยด้วยกัน เจอกันง่าย ติดต่อกันง่าย อาจช่วยเหลือกันได้สะดวกกว่า) และอาจมีข้อดีอื่นๆอีก แล้วแต่ใครจะคิดได้
ข้อที่สอง ผมไม่ได้มองว่าการสอนราชภัฎ เอกชน ราชมงคล ฯลฯ เป็นแค่การซื้อเวลา ทั้งผู้สมัครหรือทางสถาบัน แต่มองว่าระหว่างตกงาน ไม่มีเงิน ไม่มีประสบการณ์ กับการมีงานทำ และได้ฝึกประสบการณ์ไปด้วย ย่อมดีต่อผู้ตั้งใจทำงานสายนี้ ในขณะที่ทางสถาบันเองก็ได้คนทำงานด้วยเช่นกัน มันก็วิน-วิน ด้วยกันทั้งคู่ครับ
อย่างที่สาม เปิด ป.เอกที่ไทยทำไม...... ก็เพื่อให้คนที่ไม่มีทุนทรัพย์พอไปเรียนต่างประเทศได้มีโอกาสเรียนเพิ่มพูนความรู้ หรือสำหรับคนที่มีครอบครัวและไม่ต้องการจากครอบครัวไปเรียนนานๆ หรือคนที่มีปัญหาสุขภาพไม่อยากขาดคนดูแล หรือเหตุผลอื่นๆร้อยแปด ผมไม่ได้ต้องการสื่อว่าเรียนที่ไทยสู้เรียนต่างประเทศไม่ได้ แต่ต้องการสื่อว่าเรียนต่างประเทศมันมีข้อได้เปรียบบางอย่าง ถ้าเราจำเป็นต้องเรียนที่ไทย เราก็ต้องมาวิเคราะห์ดูว่าเราจะเตรียมตัวรับมือกับคู่แข่งที่จบจากต่างประเทศอย่างไร เพื่อที่เราจะได้งานทำ
=====เนื่องจากเป็นกระทู้ห้องสีลม...ผมเลยพูดในเรื่องการหางานทำ การแข่งขันเพื่อให้ได้งาน...ไม่ได้ต้องการพูดแบบกระทู้ห้องสมุด (การศึกษา) ที่พูดเรื่องปรัชญาการศึกษา หรือคอยเน้นย้ำว่า...สถานที่เรียนไม่เกี่ยว แต่อยู่ที่คนเรียน....
ก่อนอื่นเราต้องยอมรับความจริงก่อนครับว่า ในอัตราเงืนเดือนที่นายจ้างเราต้องเสียไป ใครๆก็อยากได้คนที่มีศักยภาพที่สุด ใช้งานให้ได้คุ้มที่สุดใช่ไหมครับ
ในฐานะคนหางาน เราก็อยากได้ที่เงินเดือนมากที่สุด ที่มีชื่อเสียงที่สุด ที่ที่เราทำงานได้ดีที่สุด หรือที่ที่เราชอบด้วยเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ ใครๆก็อยากเลือกที่ดีที่สุดให้กับตัวเองใช่มั้ยครับ
เอาง่ายๆ...เวลาที่เรามีลูก เราก็อยากให้ลูกได้ที่เรียนดีๆ ได้ครูดีๆ จบมามีงานดีๆ ถ้าเราเลือกได้ เราก็ต้องเลือกที่ดีที่สุดอยู่แล้ว แต่ถ้าเลือกไม่ได้ก็ต้องเลือกที่รองๆลงมา ตามที่เราพอจะเลือกได้...
ที่ผมแนะนำเจ้าของกระทู้ไปใน คห 18 เป็นเพราะว่าไม่อยากให้เค้าต้องมาเสียใจ คิดว่าเรียนจบโทในไทยแล้วหมดโอกาส (เพราะกรรมการสอบลำเอียง/ชอบคนจบนอกมากกว่า) แต่ผมต้องการให้เจ้าของกระทู้ลองมองย้อนมาว่า ในเมื่อจบโทที่ไทยมาแล้วนี่ เราเปลี่ยนอะไรไม่ได้แล้ว แต่เราจะทำยังไงเพื่อที่จะ 'ขาย' ตัวเองให้ได้ แทนที่จะมานั่งน้อยเนื้อตำใจ สู้หาวิธีเพิ่มโปรไฟล์ตัวเองดีกว่ามั้งครับ
...แล้วถ้าถามว่า ถ้าคนเรามีโอกาส...ใครบ้างไม่อยากเรียนต่างประเทศ...ใครบ้างไม่อยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ....ใครบ้างที่อยากเป็น อ.มหาวิทยาลัยแล้วไม่อยากสอนที่ดังๆ (ถ้าไม่ติดปัญหาส่วนตัวบางประการ)
...สรุปคือ ผมไม่ได้ตั้งใจจะบอกว่าเรียนที่ไทยมันแย่หรืออะไรนะครับ เพราะผมเองก็จบไทยทั้ง ป.ตรี และ โท และก็สมัครเป็นอาจารย์เลย (ตอนนั้นรับวุฒิทั้งโทหรือเอก แล้วแต่ใครสอบได้คะแนนมากสุดก็เอาไป)ผมจบจากมหาวิทยาลัยรัฐใน กทม แต่ไม่ได้จบแถวสามย่านหรือท่าพระจันทร์อีกต่างหาก ไม่มีเส้น แล้วก็กลัวว่าจะสอบไม่ได้ด้วย เพราะคนที่มาสอบส่วนมากจบต่างประเทศ หรือจบสามย่านก็เยอะ แต่ปรากฎว่าผมสอบได้ทั้งที่สามย่านและที่ท่าพระจันทร์ สาเหตุที่ได้คือ: (ตามความคิดผมนะ):
- เกรดผมดีพอสมควร ตอน ป.ตรีได้เกียรตินิยมอันดับสอง ได้คะแนนสูงเป็นอันดับสามของเอก เกือบได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่มีปัญหาส่วนตัวบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถไปเรียนต่างประเทศได้ ตอน ป.โท ได้คะแนนสูงสุดของสาขา
- ก่อนเรียนโทหนึ่งปี ผมทำงานในบริษัทเอกชนใหญ่แห่งหนึ่งแค่ปีเดียว ตอนเรียนโท ผมเป็นอาจารย์ช่วยสอนที่คณะและเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยของรัฐที่อื่นด้วย ตอนสมัครงานและสอบสัมภาษณ์ ผมก็เอาประสบการณ์ตรงนี้แหละมา 'ขาย' ในขณะที่ผู้สอบคนอื่นๆอาจได้คะแนนพอๆกับผมก็ได้ แต่ไม่มีประสบการณ์สอนเลย ...การเป็น อ.พิเศษหรืออาจารย์ช่วยสอนมาก่อน ช่วยให้กรรมการเห็นว่าอย่างน้อยผมคงสอนเป็นแหละ...และพฤติกรรมก็คงดีพอควร เค้าเลยให้เป็นผู้ช่วยสอนได้ ถ้ารับมาก็น่าจะทำงานได้
- เรื่องภาษา...เป็นคนชอบภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ฝึกมาตลอด เขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ present วิทยานิพนธ์/สอบเป็นภาษาอังกฤษ เพราะกรรมการสอบกับคนเข้าฟังเป็นฝรั่งหลายคน ตีพิมพ์งานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษด้วย ถึงแม้จะเป็นวารสารในประเทศไทยแต่ก็เป็นวารสารระดับแนวหน้าของสาขาพอควร
- เนื้อหาสาขาที่เรียน ผมว่าผมแน่นพอควร สอบข้อเขียนได้คะแนนสูงสุดและมากกว่าคนจบเอกที่มาสมัคร (อันนี้รู้หลังจากเข้ามาทำงานแล้ว)
- ตอนสอบสัมภาษณ์ ผมเป็นคนค่อนข้างเรียบร้อย (แต่ไม่เนิร์ดนะ) แต่เป็นคนพูดแบบคนมั่นใจ ไม่ก้าวร้าว ไม่โอ้อวดหรือพูดอวดเก่ง (เพราะอาจารย์ผู้ใหญ่ไม่ชอบแน่ๆ) แล้วก็โดนคำถามตรงๆคือ....คิดว่าการเรียนจบไทยและไม่เคยเรียนต่างประเทศ ทำให้ผมมีข้อดีข้อด้อยต่างไปจากคนที่จบนอกอย่างไร...ผมก็บอกไปตรงๆแบบที่ผมเขียนไปใน คห 18 ยอมรับว่าเรามีข้อด้อยกว่าคนจบนอก แต่พอพูดเสร็จผมก็บอกข้อดีของผมที่ได้เรียนที่ไทยไปสิครับ มันมีดีก็ต้องมีเสีย
พอผมได้เข้ามาทำงานได้สองปีกว่าๆ ก็มีทุนให้ไปเรียนต่างประเทศ ผมก็สอบแข่งกับอาจารย์ที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ใครได้คะแนนภาษาอังกฤษสูงกว่า ได้มหาวิทยาลัยตอบรับที่ดีกว่าก็ได้ไป ที่ผมได้ทุนเพราะตลอดเวลาที่ทำงานผมเตรียมตัวตลอด เพราะเวลาที่ทำงานรู้ตัวตลอดว่าสู้เพื่อนร่วมงานที่จบต่างประเทศไม่ได้เรื่องมุมมองใหม่ๆ เวลาที่เค้าพูดถึงอาจารย์ที่เป็นคนเขียนตำราที่เค้าได้เรียนกันมา ผมก็เคยเห็นแต่รูปกับหนังสือ ไม่เคยได้เรียนกับคนดังตัวจริงเลย เวลาเค้าคุยกันเรื่องความทันสมัยของห้องสมุดที่ต่างประเทศผมก็นึกหน้าตาไม่ออก เวลาเค้าเล่าถึงงานวิจัยของเพื่อนที่มาจากหลากหลายประเทศ ผมก็ได้แต่คุยเรื่องเพื่อนๆตอนป.โท ที่เป็นคนไทยทั้งนั้น งานที่ทำออกมาเลยมีแค่มุมมองแบบเดิมๆ หรือแม้แต่เค้าพูดคุยเล่นๆเรื่องละครน้ำเน่าในโทรทัศน์ของอังกฤษ ผมก็รู้แค่ช่อง 3,5,7,9....ของไทย ฯลฯ ผมรู้เนื้อหาทีสอนก็จริงแต่ประสบการณ์นอกประเทศแทบไม่มีเลย....ผมก็เลยต้องฟิตตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปทำงาน ไม่เคยมาสาย ไม่เคยขาดงาน ไม่เคยเข้าสอนสาย ไม่เคยคืนการบ้านเด็กช้า ฝึกภาษาตลอด สอบโทเฟล ไอเอล เก็บคะแนนดีๆไว้ เลือกมหาวิทยาลัยเตรียมไว้ล่วงหน้า เวลาจัดประชุมวิชาการ เพื่อนๆเชิญฝรั่งจากเมืองนอกมา เราไม่รู้จักฝรั่งก็เชิญอาจารย์เก่าหรือหัวหน้าของเพื่อนๆที่เคยเรียนด้วยกันนั่นแหละมาช่วยงาน เอาพอเท่าที่จะทำได้ และเมื่อโอกาสมาถึง (ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ) การตั้งใจทำงานไม่ให้บกพร่องในหน้าที่ การเตรียมตัวด้านภาษาอยู่ตลอดเวลา การหาสถานที่เรียนและเตรียมเอกสารไว้ให้พร้อมเสมอ เลยทำให้ผมสอบทุนได้ ในขณะที่คนอื่นมีประสบการณ์สอนมากกว่าหลายปี และจบโทนอกด้วย แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก...พอผมได้มาเรียนต่างประเทศ เจอผู้คนหลากหลายภาษาในห้อง เจออาจารย์ที่มาจากหลากหลายประเทศ ผมยอมรับว่าผมได้เปิดหูเปิดตามากทีเดียว แค่เข้าห้องเรียนสามชั่วโมง อาจได้ความรู้มากกว่าการอ่านหนังสือกองโตที่เมืองไทย
=======ต้องบอกก่อนนะครับว่า ที่ร่ายมายาวนี่ไม่ได้จะต้องการอวดเก่งหรือโม้ (เพราะไม่รู้ว่าจะอวดไปทำไม ไม่รู้อยู่แล้วว่าใครเป็นใคร แล้วนานๆผมถึงจะเข้ามาตอบสักที...ชื่อบัตรผ่านก็เปลี่ยนเกือบทุกครั้ง แล้วแต่ว่าจะนึกชื่ออะไรออกอีกต่างหาก...) แต่ต้องการให้กำลังใจน้องเจ้าของกระทู้ หรือคนที่ต้องการทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะว่าต้องมีการเตรียมตัวนานพอสมควร ไม่ได้เตรียมตัวได้ในเดือนสองเดือน เราต้องดูก่อนว่าอะไรคือจุดด้อยของเรา (ต้องยอมรับนะครับ อย่าทำเป็นองุ่นเปรี้ยว) แล้วดูว่าเราจะเอาอะไรมาเป็นจุดขายได้บ้าง...
จริงๆแล้วการสมัครงานของผมก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอนะครับ เคยสมัครเป็น อ. ของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด แต่ไม่ได้แม้แต่เรียกให้ไปสอบ สมัครของเอกชนแห่งหนึ่ง กรรมการสอบตกลงรับแต่กรรมการคณะมาบอกตอนหลังว่าไม่รับเพราะต้องการคนที่จบต่างประเทศ (คาดว่าจะได้อัพเกรดโพรไฟล์ของมหาวิทยาลัยให้ดูดี) บอกตามตรงว่าตอนแรกก็เสียใจครับ เลยค่อยๆมาตั้งสติครับ ลิสต์ออกมาเป็นข้อๆว่าเรามีข้อด้อย-ข้อดีตรงไหน หรือมหาวิทยาลัยแนวไหนที่ต้องการหรือไม่ต้องการคนแบบเรา ฯลฯ เพื่อเตรียมตัวในการสอบครั้งต่อไปครับ
===ย้ำอีกครั้ง ผมไม่ได้ต้องการดูถูกมหาวิทยาลัยไทย หรือคนที่จบไทยนะครับ เพราะผมเองก็จบไทยมาก่อนเหมือนกัน และก็สอนมหาวิทยาลัยไทยด้วย เพียงแต่อยากให้ได้เห็นว่า การเรียนในไทยอย่างเดียว อาจจะทำให้เราขาดต้นทุนอะไรไปบางอย่าง แต่ถ้าเราไม่มีโอกาสไปเรียนเมืองนอก เราควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ไปแข่งขันกับคนอื่นๆเขาได้ครับ
จากคุณ |
:
NY
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ต.ค. 53 18:05:53
A:109.246.5.90 X: TicketID:141052
|
|
|
|
 |