|
ความคิดเห็นที่ 5 |
หลักเกณฑ์ในการประมาณการค่า Free Float 1. free float หมายถึง หุ้นของบริษัทจดทะเบียนในส่วนที่ไม่ได้ถือโดย strategic shareholder และไม่ได้เป็นหุ้นที่ซื้อคืน โดยที่ strategic shareholder หมายถึง ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารหรือเพื่อเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในที่นี้รวมผู้ถือหุ้นกลุ่มต่อไปนี้ 1) รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ 2) กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร 4 ระดับแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 3) ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่มดังต่อไปนี้คือ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย กองทุนรวม และกองทุนที่ออมแบบมีภาระผูกพัน 4) ผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม 5) ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด 2. ค่า free float ประมาณการจากข้อมูลปิดสมุดทะเบียนในการประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุดของแต่ละบริษัทในแต่ละปี และปรับปรุงค่าประมาณการ free float ในช่วงหลังปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ในกรณีสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ดังต่อไปนี้ 1) กรณีเพิ่มทุน โดย public offering, exercise warrant, preferred stock/debenture conversion จำนวนหุ้นที่ออกใหม่นับเป็นหุ้น free float 2) กรณีเพิ่มทุน โดย private placement จำนวนหุ้นที่ออกใหม่นับเป็นหุ้นที่ถือโดย strategic shareholder 3) การเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหารตามรายงานแบบ 59-2 4) กรณีผู้ถือหุ้นกลุ่ม strategic shareholder ขายหุ้นออกโดย public offering หุ้นที่ขายออกนับเป็น free float 5) กรณีหุ้นที่เป็น treasury stock การซื้อกลับคืนทำให้ free float ลดลง ละการนำหุ้นออกขายจะทำให้ free float เพิ่มขึ้น 3. แหล่งข้อมูลที่ใช้ประมาณการค่า free float มาจากฐานข้อมูล SET SMART ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ยกเว้นข้อมูลจากรายงาน 59-2 มาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่มา : http://capital.sec.or.th/webapp/freefloat/ffinfo.htm
จากคุณ |
:
Bata (Again-With-Love)
|
เขียนเมื่อ |
:
4 พ.ย. 52 18:57:34
|
|
|
|
|