|
จากงานวิจัยพบว่า บั้งไฟพญานาคจะขึ้นช่วงพระอาทิตย์เข้าใกล้โลกพร้อมพระจันทร์ ช่วงรังสีUVCลงมาและมีความชื้นสูงO2สูงO3ตำปีละ 2 รอบคือ เดือนหน้าร้อนต่อหน้าฝนช่วงเปลี่ยนฤดู 1-3 วัน เช่นปี 2537 คือ 16 พค 2537 เดือนหน้าฝนต่อหน้าหนาว ช่วงเปลี่ยนฤดู2-5วันเช่นปี2536 คือ 30และ31 ตค 2536 ปี 2537 คือ 25 กย 2537 ,18 ตค-22ตค 2537 ปี2555 เฉพาะ หลัง 22 กย 2555มาขึ้นมาแล้ว 4วัน คือ 23 กย 2555,29ตค 2555,30 ตค 2555,และ 31 ตค 2555 นอกจากนี้ยังพบอีกว่า(1) %O2คืนวันเพ็ญสูงกว่าวันธรรมดา(2) %O2 คืนวันเพ็ญสูงกว่าทุกเพ็ญ(3) ความชื้นสัมพัทธ์คืนวันเพ็ญเดือน 11 และแรม 1 คำเดือน 11 สูงกว่าคืนวันเพ็ญ เดือนอื่นๆและแรม 1 คำเดือนอื่นๆ(ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศโพนพิสัยวัดทุก 3 ชมติดต่อกัน 11 ปี ตั้งแต่ พศ.2526-2535)(4)มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นระหว่างการพบปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาคกับการพบ %O2สูงอย่างน้อย 22%หลังการวัด%O2ทุก 3 ชม. ตค 2536- กย 2541 โดยผลการศึกษา(1),(2),(3),และ(4)มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสิ้น ปี 2546-2547 กระทรวงวิทย์ฯได้หิ้วเครื่องวัด UVCและO3มาวัดที่โพนพิสัย 2 ปีติดกัน พบO3ตำจริงUVCสูงจริง ตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้แต่แรก สมมุติฐานการเกิด(ที่ฝืนทฤษฎีเทอร์โมไดนามิกที่ฝรั่งเขียนไว้ที่ยังรอการพิสูจน์)ก็คือ ฟองก๊าซPH3บวกCH4ขึ้นแทบทุกวันตลอดปีแต่ไม่ติดไฟเพราะจะฟุ้งกระจายไปเสียก่อนจะทันติดไฟ จะติดไฟก็เฉพาะเมื่อส่วนประกอบอากาศเหมาะสมพอที่จะทำให้ปฎิกริยาเคมีที่เกิดขึ้นเร็วมากเกินกว่าที่จะฟุ้งทัน และความรวดเร็วในการสะสมของเสียที่เกิดจากการสันดาป,ปริมาณและความเข้มข้นของธาตุCที่เข้าทำปฎิกริยา,ความรวดเร็วในการระบายของเสียที่เกิดขึ้นจากการสันดาป,ต่อหนึ่งหน่วยเวลาและต่อพื้นที่หนึ่งตารางหน่วยของผิวทรงกลมของฟองก๊าซที่เหมาะสมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสมดุลของparameterทั้ง4ประการอันได้แก่ UVC,HUMIDITY,O2,O3ข้างต้นก่อให้เกิดอนุมูลอิสระOHปริมาณมากและเหมาะสมพอที่จะสามารถลดREACTION TIME ได้มากพอที่ฟองก๊าซPH3,CH4,N2,ที่มีCH4ประมาณ 12-18%(AICHE1991)ที่สอดรับกับ%CH4ที่ดักจากแม่นำโขง จากงานวิจัยเมื่อ 17 กค - 1 สค 2537 ที่ส่งตรวจวิเคราะห์(ได้ 19%)สามารถเกิด AUTOTHERMIC HETEROGENEOUS (SURFACE)COMBUSTION OF METHANE หลังPH3จุดCH4ให้ติดไฟขึ้นมาโดยบั้งไฟพญานาคจะประพฤติตนเป็นลูกโป่งสวรรค์ที่ไม่มีนำหนักลูกโป่งเป็นตัวถ่วงพุ่งจากนำติดไฟเหนือนำด้วยนำหนักสุดท้ายของนำที่ถูกปริมาตรสุดท้ายของฟองก๊าซแทนที่ลบด้วยนำหนักของก๊าซในฟอง(น่าจะเร็วมากทีเดียว)ประคองให้ลอยสูงขึ้นไปด้วยนำหนักของอากาศ(MW29)ลบด้วยนำหนักCH4บวกN2ดับไปขณะที่ลูกยังโตอยู่และไม่โค้งตกลงมา(เพราะCH4บวกN2เบากว่าอากาศ) ย่อหน้าต้นๆเป็นสิ่งที่พบจากการศึกษา ย่อหน้าสุดท้ายนี้ยังเป็นสมมุติฐานอยู่ครับ
จากคุณ |
:
เคลียร์โซน
|
เขียนเมื่อ |
:
2 พ.ย. 55 19:17:07
A:183.89.78.102 X: TicketID:378376
|
|
|
|
|