1. "คนรากหญ้า" ในความคิดของท่าน คือ ลักษณะใด เช่น
1.1 ฐานะทางการเงิน
1.2 ระดับการศึกษา การเข้าถึงการศึกษา
คนรากหญ้า น่าจะหมายถึง ชนชั้นล่าง ก็คือ ชนชั้นที่มีโอกาส ในด้านต่างๆ ด้อย
น้อยลงไปจากชนชั้นกลาง ซึ่ง การแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจนตรงนี้ ไม่ได้วัดที่
การศึกษา หรือรายได้ แต่อย่างใด เราว่ามันมีไว้เทียบเคียงเฉยๆ แค่นั้นว่า คนเหล่า
นี้เป็นพวกด้อยโอกาส ที่จะเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่ควรมี ที่รัฐต้องปกป้อง อย่างเช่น
หากรัฐ มีการประกันรายได้ พวกด้อยโอกาสเหล่านี้ ต้องมีรายได้ หากรัฐควบคุม
เรื่องการศึกษา บังคับให้ปชชต้องมีการศึกษา อย่างต่ำ ม.3 คนที่ไม่มีโอกาสได้
เล่าเรียน ถือว่าเป็นระดับรากหญ้า ซึ่ง ไม่จำเป็นต้องกินหญ้า เอ๊ยยยย ไม่จำเป็น
ต้องปลูกหญ้า.. เอ๊ยยยย หมายถึง ทำเกษตร น่ะค่ะ กิกิ
2. "คนรากหญ้า" ด้อยโอกาสทางการศึกษา หรือไม่?
2.1 คนรากหญ้าไม่ด้อยโอกาสทางการศึกษา
2.2 ถ้าคนรากหญ้าด้อยโอกาสทางการศึกษา เขาด้อยโอกาสอย่างไร
การศึกษาที่ท่านมอง เป็นการศึกษาด้านสายสามัญ หรือ รวมการศึกษาในการประกอบอาชีพในการดำรงชีวิต
การด้อยโอกาสทางการศึกษา หมายถึง การที่รัฐก็ดี หรือเอกชนก็ดี จัดหาหรือ
สร้างสถานการศึกษา รวมทั้งการนำระบบการศึกษา เข้าหาประชาชนอย่าง
"ไม่ทั่วถึง" อาจจะเพราะความห่างไกล ทุรกันดาร หรือไม่มีงบประมาณ ไม่มี
ประชากรในพื้นที่มากพอ อย่างพวกเด็กชาวเขาชาวดอยนั้น หากต้องเดินทาง
ไปโรงเรียน ต้องข้ามเขากี่ลูก พอไปถึงโรงเรียน เรียนได้ 5 ชม ต้องกลับบ้านแล้ว
เพราะเริ่มจะดึก อันตราย อะไรแบบนั้น
หากมีการจัดโซนนิ่ง ว่ากลุ่มนี้อำเภอนี้ ให้เข้ามาเรียนที่นี่ คือเหมือนกรุงเทพ ที่มี
โควต้า และจัดสรร โรงเรียนให้เพียงพอ น่าจะลดความด้อยโอกาส ทางการศึกษา
ได้ทางหนึ่ง
3. ถ้าท่านมีความเห็นว่า"คนรากหญ้าด้อยโอกาสทางการศึกษา" เราจะมีวิธีอย่างไรไหม? ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับคนรากหญ้าได้บ้าง
ขอเสนอแนวทางอื่นๆ นอกเหนือจาก จขกทค่ะ
การศึกษาทางไกล เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสถานศึกษา
ของภาครัฐได้ การส่งข้อมูลผ่านดาวเทียม การจัดตั้งศูนย์พัฒนาชนบท การเข้า
ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ (ซึ่งตรงส่วนนี้ เข้าใจว่าทหารตระเวน
ชายแดน น่าจะมีโครงการพัฒนาชนบทอยู่บ้างแล้ว แต่อยากให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้นค่ะ โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย) จะทำให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ นอกสถาน
ศึกษาได้ค่ะ
เหมือน OTOP ที่เข้าหาเพื่อประกอบอาชีพ แต่นี่เป็นการเข้าหา เพื่อการศึกษา
ไม่น่าจะยากค่ะ ถ้าไม่มีการขัดแข้งขัดขากันทางการเมือง
4. อื่นๆ
ในส่วนอื่นๆ อยากให้มองว่า การศึกษา มีไว้เพื่อกันไม่ให้ถูกล่อลวงโดยมิจฉาชีพ
ในระดับหนึ่ง นั่นคือการ อ่านออกเขียนได้ แต่ไม่ใช่เสริมสร้างปัญญา การเรียนรู้
ในห้องเรียน เพื่อหรับฐานความรู้ ให้สามารถเข้าใจสังคมได้มากขึ้น แต่ไม่ได้นำ
มาใช้เพื่อการประกอบอาชีพสักเท่าไหร่หรอก การประกอบอาชีพนั้น ต้องมี
โอกาสด้านอื่นเข้ามาอีก เช่น เรื่องของ ศก ในภูมิภาค เช่น หากส่งเสริมการ
ผลิตด้านการเกษตร ความรู้ด้านภาษาอาจะไม่จำเป็นต่อคนในพื้นที่ แต่ถ้าเป็น
ส่งออก ความรู้ทางการเกษตร ก็ไม่มีความหมาย
ความรู้หลายแขนง มีไว้เพื่อสร้างโอกาส ในการทประกอบอาชีพ แต่ถ้าให้เพียง
ปริญญาแล้วไม่มีการขยายผลด้านอาชีพ ก็ทำให้เกิด "ปริญญาเฟ้อ" ได้เท่านั้นเอง
เช่นทุกวันนี้ คนจบเอก/โท กันเหลื่อนเมือง แต่ไม่มีโอกาสประกอบอาชีพที่เรียนมา
ต้องไปเป็นนักวิชาการ ที่ไม่มีใครฟัง นั่งออกวิทยุ ขายหนังสือ แทนที่จะมี
สถานประกอบการ ที่ใช้พื้นฐานความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาค่ะ