#18 #20 ต่อไปก็จะอธิบายเพิ่มเติมถึง กรณีโทมนัส ที่ควรเสพนะครับ
โทมนัสที่ควรเสพ นี้ได้แก่ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
ซึ่งขึ้นได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม ในระหว่างที่ยังไม่บรรลุธรรมนั้นเอง
(แต่เมื่อบรรลุอนาคามีและอรหัตตมรรคแล้ว จะไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน)
โทมนัส อาศัย เนกขัมมะ นี้ เป็นโทมนัสของผู้ปฏิบัติธรรม ที่เกิดขึ้น
เช่น เมื่อปฏิบัติธรรมด้วยความเพียรมาหลายปีติดต่อ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ
จึงได้เกิดความเสียใจขึ้น และต่อจากนั้น จึงได้ข่มใจเจริญธรรม ปฏิบัติธรรมต่อไป
ด้วยเหตุนี้การเสพธรรมนี้ก็ยังเป็นปัจจัยแก่การเจริญธรรมได้
(อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลด้วยอำนาจแห่ง ปกตูปนิสสยปัจจัย)
__________________________________________________
ท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิ ได้บรรยายธรรมเทศนาไว้ความว่า.....
ใน มหาสติปัฏฐานสูตร ทรงแสดง เวทนาไว้ ๙ ประการ คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อุเบกขาเวทนา
๔. สุขเวทนาอิงอามิส ได้แก่ โสมนัสเวทนา ๖ อิงกามคุณ ๕
๕. สุขเวทนาปราศจากอามิส ได้แก่ โมนัสสเวทนา ๖ อาศัยเนกขัมมะ คือ สมถะและวิปัสสนา
๖. ทุกขเวทนาอิงอามิส ได้แก่ โทมนัสเวทนาอาศัยเรือน ๖ อย่าง เพราะไม่บริบูรณ์ด้วยกามคุณ ๕
๗. ทุกขเวทนาปราศจากอามิส ได้แก่ โทมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ เพราะไม่ได้รับอริยมรรคอริยผล
๘. อุเบกขาเวทนาอิงอามิส ได้แก่ อุเบกขา เวทนาอาศัยเรือน ๖ อย่าง
๙. อุเบกขาเวทนาปราศจากอามิส ได้แก่ อุเบกขาเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖ อย่าง เกิดขึ้นเพราะสมถะและวิปัสสนา
__________________________________________________
จาก ข้อ ๗ นี้เอง คือ โทมนัสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ เพราะยังไม่ได้บรรลุธรรม
แม้ข้อนี้ ผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐาน ย่อมทราบแก่ตนดีว่า
บางครั้งเราเพียรมากๆ แต่ไม่ได้ผลดังใจ ก็เกิดความเสียใจบ้าง
แต่ก็ไม่ย่อท้อ มุ่งหน้าปฏิบัติต่อไป เช่นนี้ จึงเป็นธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดประโยชน์ได้
_____________________________________________
ดังนั้น ที่ว่า ควรเสพ นี้มุ่งหมายถึง
ผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรม แม้เกิดโทมนัสขึ้นในระหว่างกรรมฐาน ก็ไม่ควรย่อท้อ
เมื่อบรรลุธรรมเป็น อรหันต์บุคคลแล้ว โทมนัสต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก
แก้ไขเมื่อ 15 มี.ค. 55 00:51:16
แก้ไขเมื่อ 15 มี.ค. 55 00:47:59