ต่อไปจะขอนำ ความจาก อรรถกถา วิภังคปกรณ์
จากพระไตรปิฎกอรรถกถา ฉบับมหามกุฏ มาแสดงประกอบไว้ก่อน
เพื่อให้ทุกๆท่านได้ศึกษาร่วมกันนะครับ
_______________________________________________
(พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493)
ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ
ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ
กรรม
กรรมนิมิต
คตินิมิต.
บรรดาอารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว
ชื่อว่า กรรม กรรมย่อมประกอบวัตถุใด ทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่า
กรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต
เเม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป กรรมนั้นย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิต
ในขณะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของกรรมนิมิต ดังต่อไปนี้
เรื่องนายโคปกสีวลี
ได้ยินว่า บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร
ชื่อว่า ตาลปิฏฐิกะ เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว
เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.
เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง
ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมุฬหกาลกิริยา (การทำ
กาละของผู้ลุ่มหลง) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคม
กล้าตัดศีรษะข้างหลังก็ดี เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะ
ก็ดี ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี ในกาลแม้เห็นปานนี้ กรรมหรือว่ากรรม-
นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 494
วินิจฉัยเรื่องตายทันที
ยังมีการตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ลหุกมรณะ (ตายเร็ว) จริงอยู่
บุคคลเอาค้อนทุบขยี้แมลงวันที่หลบซ่อนอยู่บนด้ามสิ่ว ในเวลาแม้เห็นปานนี้
กรรมหรือกรรมนิมิต ก็ย่อมปรากฏ อนึ่ง เมื่อแมลงวนถูกค้อนบดขยี้อยู่
อย่างนี้ ภวังค์ยังไม่เปลี่ยน (หมุน) มาเป็นอวัชชนะทางกายทวารก่อน
ย่อมเปลี่ยน (หมุน) มาสู่เฉพาะมโนทวาราวัชชนะ ทันทีนั้น ชวนะก็แล่น
ไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์. ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงเปลี่ยน (หมุน) มาสู่
อาวัชชนะทากายทวาร ต่อแต่นั้นวิถีจิตทั้งหลาย คือ กายวิญญาณ สัมปฏิจ
ฉันนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ จึงเป็นไป ชวนะก็แล่นไปแล้วหยั่งลงสู่ภวังค์.
ในวาระที่ ๓ ภวังค์เปลี่ยน (หมุน) มายังมโนทวาราวัชชนะ ลำดับนั้น
ชวนะก็แล่นไปหยั่งลงสู่ภวังค์ แมลงวันย่อมทำกาละ (ตาย) ในฐานะนี้*
เนื้อความนี้ท่านนำมาเพื่ออะไร เพื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า อารมณ์ของอรูปธรรม
ทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้.
ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะ
บังเกิดขึ้น ชื่อว่า คตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏ
เป็นภาพเช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง) เมื่อมนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ
* คำว่าในฐานะนี้ หมายถึงมรณาสันนวิถี (วิถีใกล้ความตาย) ประเภทใดประเภทหนึ่งใน ๔t
อย่าง เหล่านี้คือ
ประเภทที่ ๑ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วจุติ
ประเภทที่ ๒ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง แล้วจุติ
ประเภทที่ ๓ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทารัมมณะ ๒ ครั้ง แล้วมีภวังค์...แล้วจุติ
ประเภทที่ ๔ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีภวังค์...แล้วจุติ
ในฐานะนี้ แมลงวันตายในประเภทที่ ๔
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 495
เป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน. เมื่อเทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏ
เป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอนเป็นต้น ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง
โดยสังเขป คือ กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่าง คือ
อารมณ์อดีต
อารมณ์ปัจจุบัน
อารมณ์ที่เป็นนวัตตัพพะ.*
อสัญญีปฏิสนธิไม่มีอารมณ์ บรรดาปฏิสนธิเหล่านั้น วิญญาณัญจายตน
ปฏิสนธิ และเนวสัญญานาสัญญายตนปฏิสนธิมีอารมณ์เป็นอดีตอย่างเดียว
กามาวจรวิบาก ๑๐ มีอารมณ์เป็นอดีตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง ปฏิสนธิที่เหลือมี
อารมณ์เป็นนวัตตัพพะ (อารมณ์ที่พึงกล่าวไม่ได้).
ก็ปฏิสนธิที่กำลังเป็นไป
ในอารมณ์ ๓ อย่าง ย่อมเป็นไปในลำดับแห่งจุติที่มีอดีตเป็นอารมณ์ หรือ
มีนวัตตัพพารมณ์ แต่ชื่อว่า จุติจิตที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันมิได้มี เพราะฉะนั้น
พึงทราบอาการที่เป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์ ๓
อย่าง ในลำดับแห่งจุติที่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๒ อย่าง ด้วย
อำนาจสุคติและทุคติ. ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
คือ ในเบื้องต้น บาปกรรมตามที่ตนสั่งสมไว้ หรือกรรมนิมิต ย่อม
มาสู่คลองมโนทวารแก่บุคคลผู้นอนในเตียงมรณะ เพราะพระบาลีว่า "ก็บาป
* อารมณ์นี้เห็นตรงกับอารมณ์บัญญัติ คือ บัญญัติกรรมนิมิต และบัญญัติมหัคคตกรรมนิมิตของผู้ที่จะไปเกิดในพรหมโลก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 496
กรรมเหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมซึ่งดำรงอยู่ในกามาพจร
สุคติในสมัยนั้น" ดังนี้ จุติจิตก็ทำภวังควิสัย (คืออารมณ์แห่งภวังค์) ให้เป็น
อารมณ์ เกิดขึ้นในที่สุดแห่งตทารัมมณะ หรือในชวนะถ้วน ๆ เกิดขึ้น
ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิตนั้นดับแล้ว ก็เกิดปฏิสนธิจิต
อันนับเนื่องด้วยทุคติภูมิ อันกำลังแห่งกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้น้อมไปในบาปกรรม
ต่าง ๆ ปรารภกรรมหรือกรรมนิมิตที่มาสู่คลองนั้นนั่นแหละ
นี้เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตต่อจากจุติจิตมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก นิมิตในทุคติภูมิมีภาพเปลวเพลิงเป็น
ต้นในนรกเป็นต้น มาสู่คลองมโนทวาร ด้วยอำนาจแห่งกรรมตามที่กล่าวแล้ว
เมื่อภวังค์ของบุคคลนั้นเกิดดับสิ้นสองครั้งแล้วเกิดวิถีจิตทั้ง ๓ คือ อาวัชชนะ
ซึ่งปรารภอารมณ์นั้น ๑ ชวนะ ๕ ดวง เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ๑
และตทารัมมณะ ๒ ดวง ๑. ต่อจากนั้น จุติจิต ๑ ดวง กระทำภวังควิสัย
ให้เป็นอารมณ์ ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ขณะจิตย่อมล่วงไป ๑๑ ดวง
ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิต จึงเกิดขึ้นในอารมณ์ที่มีอายุแห่งขณะจิตที่ยังเหลืออยู่
๕ ขณะนั้นนั่นแล. นี้ ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก หิ่ นารมณ์ (อารมณ์เลว) มีราคะเป็นต้น
เป็นเหตุ ย่อมพาสู่คลองทวารในทวาร ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในที่สุดแห่งโวฏฐัพ
พนะที่เกิดขึ้นตามลำดับ ชวนะ ๕ ดวง เเละตทารัมมณะ ๒ ดวง ของบุคคลนั้น
ย่อมเกิด เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อความตาย ต่อจากนั้น จุติจิตหน่วงก็ทำ
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
ภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ขณะแห่งจิตย่อมเป็นอัน
ล่วงไป ๑๕ ขณะ คือ ภวังค์ ๒ ดวง อาวัชชนะ ๑ ดวง ทัศนะ ๑ ดวง
สัมปฏิจฉันนะ ๑ ดวง สันตีรณะ ๑ ดวง โวฏฐัพพนะ ๑ ดวง ชวนะ ๑ ดวง
ตทารัมมณะ ๒ ดวง และจุติจิต ๑ ดวง ในลำดับนั้น ปฏิสนธิจิต จึงเกิดขึ้นใน
อารมณ์ที่มีอายุขณะจิต ๑ ขณะที่ยังเหลืออยู่นั้นนั่นแหละ ปฏิสนธิแม้นี้ก็มีอารมณ์
ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตและปัจจุบันในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต
พึงทราบอาการความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในทุคติภูมิที่มีอารมณ์อดีตและ
ปัจจุบัน ในลำดับแห่งจุติในสุคติภูมิซึ่งมีอารมณ์อดีตนี้ก่อน. ส่วนกรรมอัน
ปราศจากโทษนั้น หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้ดำรง
อยู่ในทุคติภูมิมีกรรมอันปราศจากโทษที่สั่งสมไว้แล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงเว้นธรรมที่เป็นฝ่ายขาว (บริสุทธิ์) ไว้ในธรรม
ที่เป็นฝ่ายดำแล้ว พึงทราบคำทั้งหมดโดยนัยก่อนนั่นแหละ. นี้เป็นอาการแห่ง
ความเป็นไปแห่งปฏิสนธิในสุคติภูมิ ซึ่งมีอารมณ์อดีตและปัจจุบัน ต่อจากจุติ
ในทุคติภูมิอันมีอารมณ์เป็นอดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรือนวัตตัพพะในลำดับจุติมีอารมณ์อดีต
อนึ่ง กรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิต ย่อมมาสู่คลอง
มโนทวารของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิ ผู้มีกรรมปราศจากโทษซึ่งสั่งสม
ไว้แล้ว ผู้นอนบนเตียงมรณะ โดยมีพระบาลีมีอาทิว่า ตานิ จสฺส ตสฺมี
สมเย โอลมฺพนฺติ ก็กรรมอันงามคือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 498
เหล่านั้น ย่อมเข้าไปปรากฏแก่บุคคลนั้นผู้นอนบนเตียงในสมัยนั้น เป็นต้น*
ก็แลกรรมอันปราศจากโทษ หรือกรรมนิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของ
บุคคลผู้มีกรรมปราศจากโทษอันเป็นกามาพจรที่สั่งสมไว้แล้วนั่นแหละ ส่วน
กรรมนิมิตอย่างเดียว ย่อมมาสู่คลองมโนทวารของบุคคลผู้มีมหัคคตกรรมที่
สั่งสมไว้แล้ว จุติจิตทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ในลำดับแห่งตทา-
รัมมณะ หรือในชวนวิถีล้วน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นปรารภกรรมนิมิตนั้น เมื่อจุติจิต
นั้นดับ ปฏิสนธิจิตอันนับเนื่องด้วยสุคติภูมิ ซึ่งถูกกำลังกิเลสที่ยังมิได้ตัดให้
น้อมไป เกิดขึ้นปรารภกรรม หรือกรรมนิมิตอันมาสู่คลองนั้นนั่นแหละ. นี้
เป็นปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตหรืออารมณ์นวัตตัพพะต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์ปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก สุคตินิมิตกล่าวคือภาพท้องมารดาใน
มนุษยโลก หรือภาพอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์ในเทวโลก ย่อมมาสู่คลองมโน-
ทวารด้วยอำนาจกรรมที่ปราศจากโทษอันเป็นกามาพจร ปฏิสนธิจิตย่อมเกิดขึ้น
แก่บุคคลนั้นในลำดับแห่งจิติจิต โดยลำดับที่แสดงไว้ในทุคตินิมิตนั้น แหละ.
นี้เป็นปฏิสนธิมีปัจจุบันอารมณ์ในลำดับแห่งจิตมีอดีตอารมณ์.
ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก พวกญาติพากันแสดงอารมณ์ กล่าวว่า
ดูก่อนพ่อ นี้เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า พ่อจงทำเพื่อประโยชน์แก่ตัวพ่อ พ่อจง
ยังจิต ให้เลื่อมใสแล้วแสดงรูปารมณ์ ด้วยสามารถแห่งพวงดอกไม้ ธงชัย และ
* ม. อุ. เล่ม ๑๔. ๔๘๗/๓๒๓
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 499
ธงแผ่นผ้าเป็นต้น หรือแสดงสัททารมณ์ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรม และ
ดุริยบูชาเป็นต้น หรือแสดงคันธารมณ์ด้วยสามารถกลิ่นธูป กลิ่นเครื่องอบที่
หอมเป็นต้น หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงลิ้มไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อ
ประโยชน์แก่พ่อแล้วแสดงรสารมณ์ ด้วยสามารถแห่งน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น
หรือกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ พ่อจงสัมผัสไทยธรรมนี้ ที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่พ่อ
แล้วแสดงโผฏฐัพพารมณ์ด้วยอำนาจแห่งผ้าจีนและผ้าโสมาระเป็นต้นน้อมเข้า
ในทวาร ๕. ชวนะ ๕ ดวงย่อมเกิดแก่บุคคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้
ต่อความตาย ในที่สุดแห่งโวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นตามลำดับในอารมณ์มีรูปเป็น
ต้นที่มาสู่คลองนั้น และย่อมเกิดตทารัมมณะ ๒ ดวง ลำดับนั้น จุติจิตหนึ่ง
ดวงการทำภวังควิสัยให้เป็นอารมณ์ ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ปฏิสนธิจิตก็เกิด
ขึ้นในอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในขณะแห่งจิตหนึ่งดวงนั้นแหละ. ปฏิสนธิแม้นี้ ก็มี
อารมณ์ปัจจุบันต่อจากจิตมีอารมณ์อดีต.
ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่อจากจุติมีอารมณ์นวัตตัพพะ
อนึ่ง ในมรณสมัยของบุคคลอื่นอีก ผู้ดำรงอยู่ในสุคติภูมิผู้ได้เฉพาะ
มหัคคตะด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐวีกสิณเป็นต้น บรรดากุศลกรรม กรรมนิมิต
คตินิมิตที่เป็นกามาพจรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนิมิตมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือ
มหัคคตจิต ย่อมมาสู่คลองมโนทวาร หรืออารมณ์อันประณีต อันมีการเกิดขึ้น
แห่งกุศลเป็นเหตุ ย่อมมาสู่คลองในจักษุ หรือโสตทวารอย่างใดอย่างหนึ่ง ชวนะ
๕ ดวง ย่อมเกิดแก่บุกคลนั้น เพราะมีกำลังอ่อนโดยใกล้ต่อมรณะ ในที่สุดแห่ง
โวฏฐัพพนะซึ่งเกิดขึ้นโดยลำดับ แต่ว่า ตทารัมมณะย่อมไม่มีแก่เหล่าสัตว์ผู้มี
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 500
มหัคคตจิตเป็นคติ ฉะนั้น จึงเกิดจุติจิตหนึ่งดวงกระทำภวังควิสัยให้เป็น
อารมณ์ในลำดับแห่งชวนะนั้นแล ในที่สุดแห่งจุติจิตนั้น ย่อมเกิดปฏิสนธิจิต
มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ทั้งหลายตามที่ปรากฏ อันนับเนื่องในสุคติ
อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งสุคติของกามาพจร หรือมหัคคตะ. ปฏิสนธินี้มีอารมณ์
อดีต ปัจจุบัน นวัตตัพพะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากจุติที่มีอารมณ์เป็นนวัต-
ตัพพะ.
พึงทราบปฏิสนธิ ในลำดับแม้จุติในอรูปภูมิ โดยทำนองนี้. นี้เป็น
อาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิมีอารมณ์อดีต มีอารมณ์นวัตตัพพะ มีอารมณ์ปัจจุบัน
ต่อจากจุติในสุคติภูมิมีอารมณ์อดีต และอารมณ์นวัตตัพพะ.
ปฏิสนธิมีอารมณ์อดีตปัจจุบันต่อจากจุติมีอารมณ์อดีต
ส่วนบุคคลผู้ดำรงอยู่ในทุคติภูมิ ผู้มีบาปกรรม กรรม กรรมนิมิตหรือ
คตินิมิตนั้น ย่อมมาสู่คลองในมโนทวารโดยนัยที่กล่าวนั้นแหละ แต่อารมณ์ที่
เป็นเหตุเกิดอกุศลย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ลำดับนั้น ปฏิสนธิจิตของบุคคล
นั้นมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ ๓ เหล่านั้น อันนับเนื่องในทุคติภูมินี้
ที่สุดแห่งจุติจิตตามลำดับก็เกิดขึ้น. นี้เป็นอาการเป็นไปแห่งปฏิสนธิจิตมีอารมณ์
อดีต และปัจจุบันในลำดับต่อจากจิตในทุคติภูมิมีอารมณ์อดีต ฉะนี้แล ด้วย
ลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันแสดงความเป็นไปแห่งวิญญาณ ๑๙ ดวง
ด้วยอานาจปฏิสนธิ.
อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ ๑๙ ดวงทั้งหมดนี้นั้น
เมื่อเป็นไปในปฏิสนธิ ย่อมเป็นไป
ด้วยธรรม ๒ อย่าง และวิญญาณที่แตกต่างกัน
เป็นไป ๒ อย่างเป็นต้น โดยความแตกต่างกัน
แห่งธรรมที่ระคนกันเป็นต้น.