ลัทธิพราหมณ์ได้ถือกำเนิดและอยู่คู่กับโลกนี้มาช้านาน
สังเกตว่าผมใช้คำว่าลัทธิ เพราะในสมัยก่อนนั้นมีการตั้งสำนักต่างๆ ขึ้นมามากมาย
มีอาจารย์เจ้าลัทธิที่มีวิชาความรู้ต่างกันไป โดยไม่มีศาสดาที่เป็นผู้ประกาศศาสนา
แม้ในสมัยที่เป็นสูญกัปป์ ลัทธิพราหมณ์ก็จะยังคงมีอยู่
ดังนั้น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ศาสนาพราหมณ์จะเผยแพร่ไปทุกแห่ง รวมถึงกระทั่งประเพณีการปฏิบัติในการบูชาเทพเจ้าต่างๆ ตามความเชื่อ
ในสมัยพุทธกาล ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา
ก็มีปรากฎตามหลักฐานต่างๆ ว่ามีการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
และในครั้งนั้น เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงประทับใต้ต้นหว้า และปฏิบัติสมาธิจนบรรลุปฐมฌาน
ในเรื่องนี้ก็จะเห็นได้ว่า พิธีแรกนาขวัญซึ่งก็เป็นพิธีทางพราหมณ์ ก็ได้มีมาแต่โบราณกาล
จนมาถึงในปัจจุบัน ประเทศไทยก็ยังคงมีปฏิบัติกันอยู่
ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว พุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปยังสถานที่ต่างๆ
ประเทศไทยกได้รับการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนา พราหมณ์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น
พัฒนาเรื่อยมาจนปรากฎเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
-------------------------------------------------------------------
การบูชาบรวงสรวงเทพเจ้า ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
เพราะพุทธบริษัทอันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ก็พึงทราบและระลึกอยู่ในใจแล้วว่า การกราบไหว้เทวดามีผล เทวดาสามารถให้คุณให้โทษได้
จะมีเพียงแต่ผู้ที่มีมิจฉาทิฐิ ที่ไม่เชื่อว่ากรรมมี เทวดามี บุญบาปมี นรกสวรรค์มีเป็นต้น
แม้เราทั้งหลายจะทราบกันดีว่าพระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็ตาม
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า การที่บุคคลบางส่วนกราบไหว้บูชา ปฏิบัติตามศาสนาพราหมณ์นั้น..
ไม่ใช่เพราะบุพกรรมที่เคยสั่งสม ที่เคยผูกพันกันมาตั้งแต่อดีตกาลนานจนประมาณมิได้ !?
ในฐานะพุทธบริษัทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น..
เราท่านทั้งหลายก็ควรน้อมคำสอนของพระพุทธองค์มาถือปฏิบัติกัน
คือการหันมาพิจารณาตน แทนที่จะติเตียนผู้อื่น, หันมาดูกายใจตน แทนที่จะดูกายใจผู้อื่นเป็นต้น
เพราะการพิจารณาติเตียนผู้อื่นนั้น นอกจากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังอกุศลจิตให้เกิดกับตนอีกด้วย
-------------------------------------------------------------------
สมัยพุทธกาล..
วัสสการพราหมณ์จึงได้ไปทูลกับพระพุทธเจ้า เพื่อจะหยั่งลองดูว่าพระพุทธองค์จะตรัสอย่างไร คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม ๗ ประการ หรือธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว ได้แก่
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิจ
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและกระทำกิจที่ควรทำ
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติและไม่เลิกล้มสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว
๔. เคารพนับถือผู้ใหญ่ เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
๕. ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรี
๖. สักการะเคารพเจดีย์
๗. ให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ คือการคุ้มครองบรรพชิต
เมื่อลองพิจารณาดูแล้ว การประกอบพิธีกรรมต่างๆ นั้น
ก็เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีแต่ดั้งเดิม เป็นสิ่งที่ไม่ควรลบล้าง เป็นสิ่งที่ควรรักษาสืบทอดไว้
ถ้าจะพิจารณาด้วยเหตุและผลแล้ว.. พิธีแรกนาขวัญ การลอยกระทง การทำบุญบั้งไฟ ฯ
ก็เป็นการปฏฺิบัตกันตามขนบธรรมเนียมทั้งนั้น ซึ่งเราทั้งหลายทราบกันดีอยู่แล้วว่า..
ข้าวจะออกดีไม่ดีก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัวสองตัวกินข้าวหรือกินเหล้า ?
การเอาวัสดุไปลอยแม่น้ำลำคลองจนท่อตัน ก็ไม่ได้เป็นการช่วยกันรักษาอนุรักษ์แม่น้ำ ?
การจุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็ไม่ได้ช่วยให้ฝนตก และยังก่อให้เกิดอันตรายกันคนใกล้เคียง ?
ขนมธรรมเนียมประเพณีที่มีสืบต่อกันมานั้น ถ้าสิ่งใดถ้าไม่เป็นที่เสื่อมเสีย ก็ควรที่รักษาไว้ไม่ใช่หรือ ?
ถ้าจะว่าตามหลักพุทธศาสนาโดยปรมัตถ์แล้ว ธรรมทั้งหลายล้วนไม่มีตัวตน
การที่ใครจะปฏิบัติอะไร ถ้าเราเห็นอย่างไรก็ควรกำหนดรู้เพียงเท่านั้นพอ
เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนสมมุติ ดังคำสอนพระพุทธองค์ที่ว่า..
"ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์ที่เกิด นอกจากทุกข์ที่ดับ แล้วไม่มีอะไรอื่นอีก"
ปล. ผมไม่ได้เป็นผู้ศึกษาในศาสนาพราหมณ์ ถ้ามีสิ่งใดผิดพลาดไป ก็ขออภัยมาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
แก้ไขคำผิดและเพิ่ม Link
แก้ไขเมื่อ 14 พ.ค. 55 20:28:07