 |
คงจะอธิบายในรูปแบบของธรรมกายเจดีย์ ที่บอกว่าเป็นอุเทสิกเจดีย์
ทำไมจึงเป็นรูปร่างเช่นนั้น จานบิน ฝาขวดโหล นี่คือการมองแบบด้วย ความคิดขั้นพื้นฐานเพราะ จะให้เหมือนกับอะไรก็ได้ตามภาพในใจของคนมอง
ก็เป็นกรณีเดียวกับพระพุทธรูป ก็แล้วแต่คนมอง เมื่อมีรูปร่าง ผิดไปจากที่เคยเห็นมา
แต่ว่าถ้ามองตามจุดประสงค์ผู้สร้าง ก็คือเจดีย์ และ พระพุทธรูปนั่นเอง มันมองไม่ยาก ไม่ถึงกับมองไม่ออก เพียงแต่แปลกตาเท่านั้น
การสร้างจนมีรูปร่างแบบนี้ เพราะคนสร้างได้เน้นจุดประสงค์ในการสร้าง จึงทำให้รูปแบบเดิมแทบไม่มีเหลือ เช่นฐานเจดีย์ เป็นที่นั่งพระภิกษุ ตัว เจดีย์เป็นที่วางพระธรรมกาย ยอดโดม ภายในบรรจุพระบรมพุทธเจ้า ลักษณะของวัดธรรมกายตั้งแต่ตัวโบสถ์ก็ไม่เหมือนใครอยู่แล้ว โดยต้อง การสร้างให้ทนทานอยู่นานซ่อมน้อยที่สุด เลยไม่มี ช่อฟ้า ใบระกา เสมา
แล้วนี่คือปรัชญาการสร้างของเขา ( ค้นมาจากเนต )
วัดพระธรรมกายยึดหลักปรัชญาการก่อสร้างคือ "ประหยัดสุด ,ประโยชน์สูง" เพราะเห็นคุณค่า ต่อเงินที่ได้มาเกิดจากความศรัทธาอันหามาด้วยความยากลำบากของญาติโยม จึงต้องการใช้เงินเหล่านี้ให้คุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความเคารพและศรัทธาเทินทูนในพระรัตนตรัย ด้วยการสร้างสิ่งที่ดีที่สุดไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพุทธบุชา
สิ่งก่อสร้างจึงต้อง "เรียบง่าย(ไม่ถึงกับต้องวิจิตร), สะดวกต่อการดูแลรักษา, ไม่เป็นภาระอันหนักต่อการซ่อมแซมกับคนรุ่นหลัง,"
๑. ด้านการใช้งาน เนื่องจากสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดจะมีขนาดใหญ่ เพราะต้องรองรับคนที่มาใช้งานได้จำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เน้นที่ความวิจิตรพิสดารด้านลวดลายไทยหรือช่อฟ้าใบระกาดังวัดทั่วไป เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สุงมากขึ้น ในระยะยาวเมื่อผุพังเสื่อมไปตามกาลจะหาคนที่มีฝีมือดีมาซ่อมจะหายากขึ้น และจะซ่อมแซมให้สวยดังเดิมก็ต้องใช้งบประมาณมาก
๒.ด้านงบประมาณ หากเอาขนาด(สเกล)สิ่งก่อสร้างที่วัดเราเทียบกับวัดทั่วไป แล้วเราเพิ่มการตกแต่งด้วยศิลปะ ลวดลายอันวิจิตรแบบวัดไทยทั่วไปอีก ภาระด้านค่าใช้จ่ายจะสูงมากขึ้นอีก ทั้งในขณะก่อสร้าง ค่าฝีมือตบแต่ง รวมถึงค่าบำรุงดูแลรักษาด้วย ดังนั้นวัดจึงเลือกที่จะสร้างแบบเรียบๆดีกว่า อันเป็นการประหยัดงบประมาณได้มาก
๓. ด้านสถาปัตยกรรม โบสถ์วัดพระธรรมกายใช้หลักสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ประยุกต์ , ส่วนสภาธรรมกายสากล ธรรมกายเจดีย์ มหาวิหารหลวงปู่,มหาวิหารคุณยายใช้สถาปัตย์กรรมสมัยใหม่ ที่จะสะท้อนถึงความเรียบง่าย,ความทันสมัย, ความคิดสร้างสรรค์, เพราะต้องการให้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนความทันสมัยของพระพุทธศาสนาที่ไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ แม้อีกพันปี ก็ยังทันสมัยเสมอ ไม่ตกยุค
๔. ด้านภูมิธรรม และพุทธธรรม เนื่องจากธรรมะมี ๒ระดับใหญ่ๆ คือ ๑.ธรรมะระดับโลกียะ ๒.ธรรมะระดับโลกุตระ การสร้างวัดให้วิจิตรสวยงามอย่างวัดทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มักได้แนวคิดจากวิมานหรือสถาปัตย์กรรมของสวรรค์เป็นหลักในการสร้างของช่างในสมัยก่อน แต่สถาปัตยกรรมของวัดพระธรรมกายต้องการสะท้อนธรรมะในระดับโลกุตระ คือความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน แต่ทรงไว้ซึ่งความสะอาด สว่าง สงบ
๕. ด้านวัฒนธรรม เนื่องจากวัดส่วนใหญ่ในไทยได้ทำการก่อสร้างอย่างสวยงามมากมาย และทรงไว้ซึ่งสถาปัตย์กรรมความเป็นไทย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ด้านความสวยงามของความเป็นวัดไทยที่ดีอยู่แล้วอย่างน่าสรรเสริญยิ่ง ส่วนวัดพระธรรมกายเป็นวัดที่มีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลกเป็นหลัก ดังนั้นจึงมองภาพรวม โดยอาจต้องก้าวข้ามความติดยึดในวัฒนธรรมท้องถิ่นบางอย่างไว้ เพราะเราไม่ได้ต้องการเผยแผ่วัฒนธรรมไทยเป็นหลักแต่เรากำลังเผยแผ่พุทธธรรมเป็นหลัก จึงต้องการสื่ออกมาในลักษณะความเป็นสากล ไม่เน้นที่วัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ทุกชาติก็สามารถที่จะเข้าถึงได้ รับได้ โดยไม่ต้องกังวลว่ากำลังรับวัฒนธรรมไทยมาแทนวัฒนธรรมของชาติตน และอีกประการคือเรากำลังใช้หลักการเผยแผ่วัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ก้าวข้ามความเป็นเผ่าพันธุ์ หรือความเป็นชาติใดชาติหนึ่ง โดยผ่าน "วัฒนธรรมชาวพุทธ"ที่ดีงามแทน นั่นคือ ความสะอาด สว่าง สงบ และเรียบง่าย และความยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาอันลึกซึ่ง
นี่คือค้นหามาให้ดูครับ ถูกผิดประการใด ยังไม่วิจารณ์
แถมอีกสักนิด เจดีย์มีลักษณะนี้ เนื่องจาก วิชชาธรรมกาย พระพุทธรูปที่เห็นนั้น เป็นพระธรรมกาย คือ กายธรรมของพระพุทธองค์ พระอรหันต์ ไม่ใช่กายเนื้อครับ มีอ้างอิงใน ปฐมสมโพธิกถา ปริเฉทที่ 28 มารพันธปริวรรต
ส่วนวิชชาธรรมกายนั้น จริงแท้หรือนิมิตรอย่างใดก็พิสูจณ์กันเอาเองดีกว่า
จากคุณ |
:
KOB ON KALA
|
เขียนเมื่อ |
:
9 มิ.ย. 55 07:27:10
|
|
|
|
 |