ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับอายุความ 15 วันที่กำลังถูกกระพืออกไป กรุณาใช้สติสักนิด
เนื่องจากในเวลานี้มีความเข้าใจที่สับสนแพร่ กระจายไปในเวบบอร์ดและสื่อต่างๆ โดยเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างรุนแรงว่า กรณีอายุความหรือระยะเวลาที่นายทะเบียนต้องใช้ในการฟ้องร้องต่อศาลนั้น โดยกล่าวหากันว่าเรื่องอายุความนั้นเอามาใช้ในกรณีพรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียว ในขณะที่การพิจารณาคดียุบพรรคอื่นๆนั้น ศาลไม่ได้พิจารณาข้อนี้ ซึ่งความเข้าใจนี้น่าจะเป็นความเข้าใจผิด ที่มีการพยายามกระพือต่อๆกันไป เพราะในข้อเท็จจริง กรณีการขอยุบพรรคปชป.นั้น เป็นความผิดในฐานความผิดที่แตกต่างไปจาการยุบพรรค พปช.หรือพรรคอื่นๆ และกฎหมายกำหนดเรื่องเกี่ยวกับอายุความไว้ต่างกัน มาแต่ต้นแล้ว
คดี ยุบพรรคพลังประชาชนหรือพรรคอื่นๆนั้น อัยการสูงสุด ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ผู้ถูกร้อง เนื่องจากปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า ผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๗ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๙๔ (๑) (๒) และมาตรา ๙๕ ซึ่งแตกต่างไปจากกรณีขอยุบพรรค ปชป.ที่ถูกกล่าวหาเรื่องการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ อันเป็นความผิดตามมาตรา ๙๓ ไม่ใช่ มาตรา ๙๔ (๑) (๒) และมาตรา ๙๕
มาตรา ๙๔ ที่พรรค พปช.และอกีหลายพรรคที่โดนยุบไป ดังที่มีการเอาตารางมาเปรียบเทียบนั้น โดนกล่าวหา บัญญัติว่าเมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรคการเมือง
(๑) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการตามที่รัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีการดังกล่าว
(๒) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๓) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
(๔) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
(๕) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๓ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๑๐๔
มาตรา ๙๕ เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา ๙๔ ให้ นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุด พร้อมด้วย หลักฐาน เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสาม สิบวันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ดังกล่าว ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายทะเบียนตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง
จะเห็นว่าในมาตรา 95 มีข้อกำหนดว่าให้อัยการสูงสุดพิจารณาให้เสร็จใน 30 วัน แต่ไม่มีข้อกำหนดว่า อัยการสูงสุดหรือนายทะเบียนจะต้องส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญในกี่วัน ซึ่งต่างจากความผิดในกรณีขอยุบพรรคปชป.ที่เป็นความผิดคนละฐานและกฎหมายกำหนดเรื่องนี้ไว้แตกต่างกันคือ นายทะเบียนฟ้องยุบพรรค ปชป.ตามฐานความผิดและอาศัยมาตรา 93 ซึ่งมีอายุความ 15 วัน(ไม่ใช่มาตรา 95 ที่ไม่มีอายุความ) โดยมาตรา 93 บัญญัติไว้แตกต่างจากมาตรา 95 ที่ยกไว้ในกรณีพรรคพลังประชาชนข้างบน
โดยสรุป มาตรา 95 ไม่มบทบัญญัติว่าอัยการจะต้องส่งเรื่องให้ศาลภายในกี่วัน ต่างไปจากมาตรา 93 คือ
มาตรา ๙๓ ใน กรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมืองแต่พรรคการ เมืองนั้นยังมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ หรือในกรณีที่พรรคการเมืองใดไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ ให้ยุบพรรคการเมืองนั้น เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตาม คำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น
นั้นคือมาตรา 93 บัญญัติอายุความการฟ้องไว้ชัดเจนมากว่าภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายบทะเบียนทราบเรื่องการกระทำความผิด
โดยความผิดตามมาตรา 42 และ 82 นั้นบัญญัติไว้ว่า
มาตรา ๔๒ ให้ หัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองในรอบปี ปฏิทินที่ผ่านมาให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนด และแจ้งให้ นายทะเบียนทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ........ ถ้าพ้นกำหนด ระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น
มาตรา ๘๒ พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้เป็นไปตามที่ บัญญัติไว้ในส่วนนี้ และส่วนที่ ๕ การใช้จ่ายของพรรคการเมือง และจะต้องจัดทำรายงาน การใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทินให้ถูกต้องตามความเป็น จริง และยื่นต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป และให้นำความในมาตรา ๔๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ดังนั้น ความพยายามจะยกกรณีทั้งสองมาเทียบเคียงกัน โดยไม่ได้ดูข้อกฎหมายที่ถู฿กต้อง รังแต่จะกระพือความเข้าใจผิดๆออกไปด้วยอคติ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน
คำวินิจฉัยกรณียุบพรรคพลังประชาชน
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/A/020/1.PDF
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2550
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/064/22.PDF
สำหรับอีกกรณีที่มีการตั้งกระทู้สอบถามกันมากว่าทำไมเมื่อผู้ร้องคือนายทะเบียนพรรคการเมือง ทำการร้องล่าช้าล่วงเลยเกินกำหนดที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วทำไมศาลจึงยังรับฟ้อง
คำตอบคือในขณะที่ยื่นฟ้องนั้น ใน คำยื่นฟ้องและรายละเอียดประกอบที่ยื่นต่อศาล ยังไม่มีรายละเอียดมากพอให้ศาลทราบข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดพฤติการณ์แห่ง คดีทั้งหมดได้ เพราะผู้ร้องได้ยื่นไว้ตามแบบกำหนดในข้อบังคับศาลที่กำหนดไว้แต่เพียงให้ยื่นเอกสารบางอย่างเท่านั้น เพือประกอบการพิจารณาเบื้องต้น คือ
ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐
หมวด ๓ การยื่น การถอน และการจำหน่ายคำร้อง กำหนดการยื่นคำร้องไว้กระชับสั้นๆ ดังนี้ว่า....
ข้อ ๑๘ คำร้อง ต้องทำเป็นหนังสือ ใช้ถ้อยคำสุภาพ และอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) ระบุมาตราของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในคำร้อง
(๓) ระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิ พร้อมทั้งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(๔) คำขอที่ระบุความประสงค์จะให้ศาลดำเนินการอย่างใดพร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนโดยชัดแจ้ง
(๕) ลงลายมือชื่อผู้ร้อง แต่ในกรณีที่เป็นการทำและยื่นหรือส่งคำร้องแทนผู้อื่น ต้องแนบ
ใบมอบฉันทะให้ทำการดังกล่าวมาด้วย
ดังนั้นจะเห็นว่ารายละเอียดต่างๆ ไม่ได้ถูกกำหนดให้ยื่นในขั้นตอนแรก และรายงานการประชุมและเอกสารประกอบต่างๆ ยังไม่ได้มีการยื่นในขั้นนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลรธน.จะล่วงรู้รายละเอียดแห่งคดีในเวลานั้นหรือรู้เรื่องการประชุมในวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ในเวลานี้น
อีกทั้งผู้ร้องคือนายทะเบียน ก็สำคัญผิดคิดว่า การนับเวลา 15 วันนั้นให้นับจากการประชุมครั้งที่ 43/2553 วันที่ 21 เมษายน 2553 ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีมติในรอบที่สอง ยืนยันซ้ำในการเห็นชอบให้ผู้ร้อง(คือนายทะเบียนพรรคการเมือง)ยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 93 วรรค 2 ซึ่งที่จริงได้มีมติเสียงข้างมากของคณะ กรรมการการเลือกตั้งนั้นเห็นชอบให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 144/2552 เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 แล้ว ซึ่งเป็นวันที่ความปรากฎต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามข้อกำหนดของพรบ.พรรคการเมือง และจะต้องเริ่มนับ 15 วันตั้งแต่วันนี้ ซึ่งความจริงในเรื่องนี้มาปรากฏแก่ศาลในภายหลัง ในระหว่างที่มีการไต่สวนคดีไปแล้ว
ดู เหมือนจะเป็นความหลงผิดของนายทะเบียนพรรคการเมืองนี้ มีปรากฏอยู่ในคำบรรยายฟ้องที่เสนอต่อศาลดยอ้างมติผิด ใช้มติที่ประชุมครั้งที่ 43/2553 วันที่ 21 เมษายน 2553 และในเวลาที่ศาลรับฟ้องรายละเอียดตรงนี้ ยังไม่มีผู้ใดรับทราบว่าผิดพลาดผิดหลงไป
ต่อ มาศาลได้ดำเนินการตาม ข้อ ๒๗ ให้ตุลาการประจำคดีตามข้อ ๒๕ มีอำนาจตรวจและมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา วินิจฉัยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และข้อ ๒๙ เมื่อศาลหรือตุลาการประจำคดี มีคำสั่งรับคำร้องที่มีคู่กรณีไว้พิจารณาวินิจฉัย จึงส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง ในที่นี้คือ ปชป. เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาคำร้อง
ก็มีการยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และต่อมาจึงมีการต่อสู้ในคดีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย ทำ ให้มีรายละเอียดทางคดีปรากฏขึ้น รวมทั้งพฤติการณ์ที่มีประชุมครั้งที่ 144/2552 เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2552 ก็มาปรากฏขึ้นในขณะที่มีการไต่สวน โดยทั้งสองฝ่ายต่างยกมาประกอบพฤติการณ์คดี แต่ดูเหมือนไม่มีใครเอะใจว่า ในวันที่ 17 ธันวาคมนั้น ใน ทางกฏฆมาย ถือว่าเป็นวันที่ความปรากฎต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามข้อกำหนดของพรบ.พรรคการเมือง และนายทะเบียนจะต้องนำเรื่องยื่นฟ้องต่อศาลรัฐะรรมนูญภายใน 15 วัน โดยต้องเริ่มนับ 15 วันตั้งแต่วันนั้น แต่เนื่องจากคดีได้มีการ พิจารณาไต่สวนกันอยู่ ประเด็นต่างๆยังมิได้มีการวินิจฉัยสรุป การวินิจฉัยประเด็นนี้จึงต้องรอให้ถึงสิ้นสุดกระบวนการตามขั้นตอนจึงทำการวิ นิจฉัย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน
ข่าวมติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291030368&grpid=00&catid=&subcatid=
ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/096/14.PDF
*******************************************************
ขอ ขอบพระคุณเพื่อนๆสมาชิกที่ให้กิฟต์ครับ และขอร้องว่าอยากหใช่วยกันทำความเข้าใจกับเพื่อนสมาชิกในที่นี้หรือที่อื่นๆ ด้วย เพราะลำพังผมเองมีเวลาจำกัดคงไม่สามารถยับยั้งการแพร่กระจายความเข้าใจผิด ที่อาจมีอคติผสมอยู่นี้ได้
เช้า นี้มีเหตุต้องตื่นเช้าและก่อนออกไปธุระ ขอยกเรื่องพรรคไทยรักไทยถูกยุบมาลงเทียบไว้ด้วย เพราะมีคนถามถึงแน่ กรณีพรรคไทยรักไทยนั้น โดนกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อพรบ.พรรคการเมือง 2541 มาตรา 62 (1) (2) (3) ซึ่งนายทะเบียนใช้อำนาจตามพรบ.พรรคการเมือง 2541 มาตรา 67 ในการยุบพรรค มาตรา 67 ของพรบ.พรรคการเมือง 2541 นั้นความเกือบจะเหมือนกับ มาตรา 95 ของพรบ.พรรคการเมือง 2550 และไม่มีการกำหนดอายุความไว้ในนั้น
กรุณาอ่านรายละเอียดเรื่องยุบพรรคไทยรักไทยและพรบ.พรรคการเมือง 2541 ได้จากลิงคืนี้ครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/033_1/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/035/1.PDF
จากคุณ : thyrocyte