ระยะที่ 2 - ระยะเสพยาต่อเนื่อง
ผู้เสพจะเริ่มเพิ่มความถี่และปริมาณการเสพยาเพิ่มขึ้นคือเดือนละครั้งหรือสัปดาห์ละครั้ง
ข้อเสียจากการเสพยาเริ่มมีมากขึ้น แต่ผู้เสพก็ยังคงเสพต่อไปด้วยการหาข้ออ้างให้ตัวเองต่างๆนานา
ตัวอย่างเช่น เสพแล้วทำงานได้มากขึ้น ได้เงินเพิ่ม โดยไม่ต้องเสียแรงหรือเหนื่อยเพิ่มขึ้นเลย
หรือถึงแม้มันจะไม่ดี แต่มันทำให้มีเงินพอกินพอใช้โดยไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินใคร
หรือก็ถ้าไม่เสพกับเพื่อน ก็ต้องกลับไปอยู่บ้าน เฮฮากับกลุ่มเพื่อนไม่ได้เพราะเราไม่เหมือนเขา ฯลฯ
เงื่อนไขเริ่มถูกวางโดยตัวกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นบุคคล,สถานที่,สิ่งของต่างๆที่มีความเชื่อมโยงกับการเสพยา
เมื่อเผชิญกับตัวกระตุ้นเหล่านี้ สมองจะคิดถึงการเสพยาขึ้นมาทันที
ตัวอย่างของตัวกระตุ้น เช่น คนที่เคยเสพยาด้วยกัน, แผ่นอลูมิเนียมฟลอยด์ที่เคยใช้เวลาเสพยา ฯลฯ
กระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองเป็นปฏิกิริยาทางสรีระวิทยาของสมองที่ทำให้เกิดอาการอยากยาในเวลาต่อมา และผลักดันให้ต้องเสพยาเสพติดในที่สุด
ซึ่งสมองส่วนที่ตอบสนองต่อแอมเฟตามีนเรียกว่า Brain Reward Circuit โดยมีสารเคมีตัวสำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องคือ "โดปามีน"
เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นโดยแอมเฟตามีนให้หลั่งโดปามีนออกมามากกว่าปกติหลายร้อยเท่า ผู้เสพจะเกิดความพึงพอใจ-สุขใจ (ไฮ)
ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นที่สมองส่วน reward circuit สมองจะรับรู้ว่าสิ่งนี้ทำให้พึงพอใจ
พอแอมเฟตามีนหมดฤทธิ์ลง สมองจะปรับระดับสารเคมีให้กลับสู่สภาวะปกติ ทำให้ร่างกายมีอาการเสมือนขาด"โดปามีน"
ซึ่งในรายของผู้เสพที่ยังติดยาไม่นาน อาการขาดโดปามีนจะยังไม่รุนแรงเท่าไหร่นัก
และเมื่อเจอกับตัวกระตุ้น สมองจะสั่งให้เราเสพยาซ้ำอีก เพราะมันคือสิ่งที่สมองรับรู้ว่าทำให้เรามีความสุขได้มากกว่าสิ่งอื่น(ผิดธรรมชาติ)
ความคิดในสมองที่เกี่ยวกับการเสพยาจะเกิดบ่อยขึ้น
ส่วนความคิดเรื่องอื่นๆเช่น การออกกำลังกาย การสันทนาการ ฯลฯ จะค่อยๆลดน้อยลงเรื่อยๆ
โดยที่ผู้เสพมักหาข้ออ้างให้ตัวเองว่าเป็นเพราะ"ติดใจ" ไม่ใช่ "ติดยา"