|
(อธิบายเพิ่มเติมจากความในหัวข้อกระทู้)
ท่านผู้อ่านจะเห็นคำอธิบายถึง จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณจิต อันเป็นอกุศลวิบาก ให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดี เหล่านี้ จะเกิดพร้อมด้วยอุเบกขา
และอธิบายไว้ว่า เพราะเกิดจากการกระทบกันของ อุปาทายรูป กับ อุปาทายรูป (ผมได้วางลิ้ง พจนานุกรมไว้ใน #2 ให้แล้ว)
การกระทบนี้ก็ได้แก่
รูปะ กระทบ จักษุปสาท ขณะนั้นมี จักขุวิญญาณ เห็น สัททะ(เสียง) กระทบ โสตปสาท ขณะนั้นมี โสตวิญญาณ ได้ยิน คันธะ(กลิ่น) กระทบ ฆานปสาท ขณะนั้นมี ฆานวิญญาณ ได้กลิ่น รสะ(รส) กระทบ ชิวหาปสาท ขณะนั้นมี ชิวหาวิญญาณ รู้รส
ทั้งสี่ กรณีนี้ จัดเป็น การกระทบของ อุปาทายรูป กับ อุปาทายรูป เช่น สัททะ ก็จัดเป็นอุปาทายรูป โสตปสาท ก็จัดเป็นอุปาทายรูป
ข้อนี้ ท่านจึงอุปมาเหมือน สำลีกระทบสำลีมีกำลังน้อย ไม่ก่อให้เกิดทุกข์สุขหรือเสียใจดีใจ จึงเกิดขึ้นเป็นเพียงพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา _________________________________________________
ส่วน ในดวงที่ ๕ นั้น จะเป็น มหาภูตรูป กระทบกับ อุปาทายรูป คือ
โผฏฐัพพะ ได้แก่ ปฐวี(ดิน) คือแข็งอ่อน, วาโย(ลม) คือ เคร่งตึงไหว เตโช(ไฟ) คือเย็นร้อน สิ่งเหล่านี้จัดเป็นมหาภูตรูป (รูปที่เป็นใหญ่)
เมื่อกระทบ กับ กายปสาท ซึ่งจัดเป็นอุปาทายรูป
ท่านจึงได้อุปมา เปรียบเหมือนเอาค้อนตีสำลีที่วางอยู่บนทั่ง ย่อมมีกำลังแรง จึงก่อให้เกิดทุกข์ คือ ทุกขเวทนา(ทางกาย) อันเป็นผลจากอกุศลวิบากได้ _______________________________________________
เรื่องรูป 28 นี้เราจะได้สนทนากันโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ในปริเฉทที่ ๖ อีกที
ตอนนี้ก็เพียงแต่ดูผ่านๆตาไว้ก่อนนะครับ
จากคุณ |
:
ชาวมหาวิหาร
|
เขียนเมื่อ |
:
21 มี.ค. 55 07:35:56
|
|
|
|
|