 |
กรำของชาติไทย{แตกประเด็นจาก P10073161}
|
 |
พอเป็นระบบที่ตอบโต้ไม่ได้ กลับมาอีกแล้ว ข้อมูลครึ่งๆกลางๆ
http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/2009/03/P7657486/P7657486.html
เพื่อน ๆ ในบอร์ดโปรดให้ความรู้หน่อยครับ เรื่องนายกพูดตอนปภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นเรื่องจริงเหรอ
ความคิดเห็นที่ 13
รัฐบาลที่กู้เงิน imf คือรัฐบาลชวลิตจริงครับ
แต่ รัฐบาลชวนเข้ามาสานต่อและลงนามทำตามเงื่อนไข imf พร้อมทั้งได้รับเงินกู้งวดต่อๆมาจนครบตามที่ตกลงกันไว้ครับ ลองถ้ารัฐบาลชวนตอนนั้นต่อรองบิดพริ้วอะไรบ้าง ข้อตกลงเงื่อนไขที่ imf บีบประเทศไทยอาจจะไม่หนักหนาอะไรนักก็ได้
ที่ว่ารัฐบาลชวนคืนหนี้ imf ก็ถูกต้องครับ แต่เป็นการคืนหนี้งวดแรกปี 2543 ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เขาตกลงไว้ก่อนแล้วว่าต้องคืนหนี้แต่ละงวดเมื่อใด จำนวนอย่างต่ำเท่าใดฒครับ
ตอนปี 2542 ก่อนที่ไทยต้องคืนหนี้งวดแรก รัฐบาลชวนขี้แตกขี้แตนเพราะไม่มีเงินหมุนเวียนพอจนต้องดิ้นรนจะไปเอาเงินก้น ถุงมารวมบัญชีด้วยเพื่อหวังจะเอามาหมุนใช้หนี้ imf นี่แหละ จนถูกหลวงตาบัวด่าเปิงในตอนนั้นครับ
ตอนนั้นเงินทุนสำรองประเทศอยู่ ในระดับต่ำมากๆ แต่สุดท้ายรัฐบาลชวนก็สามารถหาเงินคืนเงินกู้งวดแรกได้จำนวนไม่กี่พันล้าน บาท เป็นการขัดดอกไปก่อนมากกว่า ไม่ได้ช่วยลดเงินต้นอะไรมากนัก ช่วงนั้นถ้ายังจำได้รัฐบาลชวนดิ้นรนขายสมบัติชาติทุกอย่างหลังจากได้ออก กฏหมายแปรรูปรัฐวิสาหกินแล้ว แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างแรง
รัฐบาลชวน ปรับกลยุทธ์แปรรูปโดยทำตามนโยบายพรรค ทรท.ที่ทักษิณเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ด้วยการขายโรงไฟฟ้าราชบุรีในสัดส่วนที่ไม่ เกิน 50% เลยไม่มีการต่อต้านอะไรนัก และก็ทำได้สำเร็จ ได้เงินเพิ่มเข้าคลังได้ และทำให้สามารถมีเงินหมุนเวียนคืนหนี้ imf งวดแรกได้ -------------------------------------
ต่อมารัฐบาล ทักษิณเข้ามาปี 2544 เงินทุนสำรองชาติยังมีน้อยอยุ่ ถ้าจำไม่ผิดประมาณ 32,000 ล้านเหรียญ จนมาถึงปี 2546 เงินทุนสำรองประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 48,000ล้านเหรียญ สถาบันจัดอันดับฐานะการเงินประเทศทุกแห่งทะยอยปรับสถานะเพิ่มเกรดประเทศไทย มาอยู่ที่ระดับสูงขึ้น(ประเทศที่น่าลงทุน) ตอนนั้นมีเงินทุนต่างประเทศไหลมาเทมา สถานะประเทศไทยดีขึ้นมาก และในที่สุดนายกฯทักษิณก็ตัดสินใจคืนหนี้ imf ที่เหลือทั้งหมดช่วงครึ่งปี 2546 นั้น ถ้าจำไม่ผิดจำนวนเงินที่คืนหนี้งวดสุดท้ายประมาณ 400,000 ล้านบาท (ตัวเลขจริงๆลองไปค้นหาดูครับ)
ตอนนายกฯทักษิณประกาศคืนเงินกู้ imf ประกาศเมื่อวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2545 ต่อ 2546 เพื่อให้เป็นของขวัญประชาชน รัฐบาลจะคืนหนี้ imf ทั้งหมดในปี 2546 ตอนนั้นถูกพรรค ปชป.และนักวิชาการสายพรรค ปชป.พากันออกมาโจมตีรัฐบาลทักษิณอย่างหนักหาว่าทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสบ้าง ขาดทุนดอกเบี้ยบ้าง (ที่จำได้มี อ.อัมมาร์และก็ ดร.ไตรรงค์และ สส.ปชป.บางคน)
จากคุณ : kaisin - [ 23 มี.ค. 52 15:59:09 A:125.25.52.239 X: ]
http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/2009/01/P7468348/P7468348.html
ถามเรื่องเก่าๆหน่อย ตกลงใครเป็นคนกู้ IMF และทำลายค่าเงินบาท
ความคิดเห็นที่ 30
. อย่าไปโทษบิ๊กจิ๋วหรือนายกทักษิณเลยครับ .............. แผนธารินทร์ 35-43 ที่เราไปอิง IMF เริ่มต้นมาจากชวน 1 (วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) แล้วครับ เพียงแต่ไม่ต่อเนื่อง เพราะมี 2 นายกมาขัดดอก คือ นายกบรรหาร ศิลปอาชา (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) นายกพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) พอนายชวน หลีกภัย กลับมาครั้งที่ 2 ( 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) ก็ดำเนินการกู้เงินตามแผนธารินทร์ 35-43 ต่อไป
วันที่ 18 เมษายน 2541 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการถาวรกองทุนการเงินระหว่างประเทศIMF โดยได้รับเงินเดือนประจำ และทำงานให้กับ IMF
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2541 ธนาคารโลก และ IMF แต่งตั้งนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นรับตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาธนาคารโลกและกองทุนระหว่าง ประเทศ(IMF) อย่างเป็นทางการ เพื่อรองรับปฏิบัติการตาม แผนธารินทร์ 35-43 ให้แล้วเสร็จตามคำสั่งของ IMF
จากคุณ : บุรุษหน้าเหล็ก - [ 29 ม.ค. 52 00:13:38 A:222.123.236.8 X: ] ความคิดเห็นที่ 58
เรื่อง LOI เอามาโพสไว้ให้ที่นี่นะครับ http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P7467862/P7467862.html#78 ว่าฉบับไหนเมื่อไรจะได้เลิกเถียง สาระสำคัญของ LOI ฉบับที่ 1 - 8
LOI ฉบับที่ 1 (14 สิงหาคม 2540)
- พันธกรณีในการดำเนินนโยบาย เน้นในการจัดการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและวางระเบียบใหม่ในการดูแลสถาบันการ เงิน-การคลังของประเทศให้เข้มงวด แต่ไม่มีพันธะที่จะต้องออกกฎหมายมาใช้บังคับ
เริ่มรัฐบาลชวน (20 พฤศจิกายน 2540)
LOI ฉบับที่ 2 (25 พฤศจิกายน 2540)
- ได้มีการทบทวนมาตรการหลายอย่างที่ทำมาในช่วง LOI 1 โดยเฉพาะการปรับเพดานการ กู้เงินต่างประเทศเพิ่มขึ้น และยกเลิกตลาดเงินตราต่างประเทศ 2 ตลาด (Two-tier system)
- ขณะเดียวกันเริ่มใช้มาตรการบีบบังคับสถาบันการเงินด้วย กฎเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อให้เป็นไปตามาตรฐานสากล
- ปรับปรุง พ.ร.บ.ล้มละลาย ให้เจ้าหนี้สามารถบังคับหลักประกันได้ในเวลาเร็วขึ้น
- ประกาศให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นข้างมากในสถาบันการเงินได้เป็นเวลา 10 ปี
- กำหนดเป้าหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเสนอให้รัฐสภาพิจารณากฏหมายที่จำเป็น
LOI ฉบับที่ 3 (24 กุมภาพันธ์ 2541)
- กำหนดกรอบในการแก้ไข พ.ร.บ.ล้มละลาย โดยพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ การทำธุรกิจของคนต่างด้าว
LOI ฉบับที่ 4 (26 พฤษภาคม 2541)
- นำแนวทางในการประเมินมูลค่าหลักประกันมาใช้ โดยทบทวนกฎหมายธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การบันทึกบัญชี ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกในการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีใหม่ให้เป็นสากล และการร่างกฎหมายการบัญชีใหม่
- เน้นการเปิดเสรีมากขึ้น เสนอให้แก่ไขกฎหมาย ปว.281 และกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนทั้งหลักทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์
LOI ฉบับที่ 5 (25 สิงหาคม 2541)
- เพื่อสนองนโยบายเปิดประเทศ รัฐบาลได้เสนอแก้ ปว.281 ให้เป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- แก้กฎหมายล้มละลาย ในประเด็นกระบวนการบังคับหลักประกันและข้อกฏหมายเกี่ยวกับการให้กู้ยืม เพื่อเป็นเงื่อนไขจูงใจให้ทั้งเจ้าหนี้
- แก้ไขกฎหมายประมวลกฎหมายที่ดินและ พระราชบัญญัติอาคารชุด
- อนุมัติร่างแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ว่าด้วยการประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์
- เพิ่มความเข้มงวดระบบบัญชี
- ออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
- ปรับปรุงกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยการออก พ.ร.บ.ทุนให้อำนาจในการแปลงทุนเป็นหุ้นและแปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด แก้ไข พ.ร.บ.การเดินทางอากาศให้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของการบินไทยให้ต่างชาติ
LOI ฉบับที่ 6 (1 ธันวาคม 2541)
- ดำเนินการต่อเนื่องในรายละเอียดของกฎหมายล้มละลาย และ ปว.281
- ขณะที่กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสถาบันการเงินมีการออกกฏหมายมา หลายฉบับ คือ กฎหมายจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต (เครดิตบูโร) พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้ควบรวมการกันได้
- พ.ร.ก.จัดตั้ง เอเอ็มซี แก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา
LOI ฉบับที่ 7 (23 มีนาคม 2541)
- เน้นนโยบายการจัดการข้อพิพาทระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนไทย โดยแก้ไข พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฉบับใหม่ และผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบังคับหลักประกัน 2 ฉบับ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ร.บ.อาคารชุด และเร่ง ออกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง
LOI ฉบับที่ 8 (21 กันยายน 2542)
- ดำเนินการต่อเนื่อง เสนอให้แก้ไขกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้ ธปท. (รวมบัญชี ล้างขาดทุนของกองทุนฟื้นฟู) กฎหมายเงินตรา ซึ่งจะทำให้การบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีความยืดหยุ่นสูง
- ร่างกฎหมายรับประกันเงินฝาก จากคุณ : ขยะสังคม - [ 30 ม.ค. 52 02:38:17 A:114.128.24.104 X: ]
http://topicstock.pantip.com/rajdumnern/topicstock/2009/05/P7841060/P7841060.html พรรคไหนกันแน่ ปลดหนี้ IMF
มีคนบอกว่า
ไม่เห็นด้วย ในการใช้หนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะดอกเบี้ยกู้ IMF เพียง 0.25% ขณะที่เราไปกู้ในประเทศที่สูงกว่ามากถึง 4-6%
แต่ไม่พูดถึงความพังพินาศของธุรกิจไทย ที่เกิดจากข้อตกลงIMFเพราะคิดว่า จะไม่มีคนเอาข้อตกลงมาให้ดู
โดนต่างชาติยึดหมดแน่
แก้ไขเมื่อ 28 ธ.ค. 53 23:58:28
แก้ไขเมื่อ 28 ธ.ค. 53 23:44:43
แก้ไขเมื่อ 28 ธ.ค. 53 17:51:09
จากคุณ |
:
ดีไม่ห่างเหิน
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ธ.ค. 53 17:27:42
A:192.168.20.12 X:58.136.81.116
|
|
|
|  |