อ่านไม่เข้าใจ แต่ดูจากหัวข้อแล้ว
จะบอกว่า สติ และ ปัญญา ก็คือ เจตสิกคะ
เราเรียกว่า สติเจตสิก และ ปัญญาเจตสิก
และสติเจสิก และ ปัญญาเจตสิก จัดเป็นสังขตธรรม
มีการปรุงแต่งเกิดดับ ดับ ทั้งสิ้น
แม้แต่โลกุตตรจิต มีสภาพเป็น จิต ยังเกิดดับ และถูกปรุงแต่งคะ
เพียงแต่ในโลกุตตรจิตรับนิพพานเป็นอารมณ์
ตัวพระนิพพาน เท่านั้นที่หลุดพ้นจากการปรุงแต่ง
อธิบายง่ายๆก็คือ ไม่มีใครเข้าไปอยู่ในนิพพาน ซึ่งไม่ถูก
ปรุงแต่งได้ตลอดเวลา แม้แต่เข้านิโรธสมาบัติก็แค่ 7 วัน
คราใดที่พิจารณานิพพานเป็นอารมณ์ก็ไม่ถูกปรุงแต่ง
แต่จิตที่ใช้พิจารณานั้น ก็เกิดดับ ไม่สามารถอยู่ถาวรได้
แค่ไปรับพระนิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้น เข้าไปรู้เท่านั้น
ตัวจิตแท้ๆนั้น ถือเป็น สังขตธรรม เป็นธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้เสมอ
ไม่ใช่มีจิตล้วนๆแล้วคือ นิพพาน
แต่ในความจริงจิตไม่เกิดล้วนๆนะคะ เป็นไปไม่ได้
ต้องเกิดพร้อมเจตสิกซึ่งมีสภาพปรุงแต่งเสมอ
พระนิพพาน ก็ไม่ใช่จิต พระนิพพานเป็นเพียงแค่อารมณ์
ที่ไม่ถูกปรุงแต่ง(อสงขตธรรม) ที่โลกุตตรจิตเข้าไปรู้เท่านั้น
ซึ่งในโลกุตตรจิตนั้นจะประกอบไปด้วย
สติและปัญญาซึ่งเป็นเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโลกุตตรจิตด้วยเท่านั้น
จิต เจตสิก และ รูป ต่างก็เป็นสังขตธรรม และถูกปรุงแต่ง
มีสภาพเกิด ดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คะ
------------------------------------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
--------------------------------------------------------------------------------
เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)
2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)
ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
14. โมหะ (ความหลง - delusion)
15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)
2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)
23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)
ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)
32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)
2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)
3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)
4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355