บทว่า
อิมเมว กายํ ได้แก่ กายอันเน่าเปื่อยอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ นี้
บทว่า
อุทฺธํ ปาทตลา ได้แก่พิจารณาขึ้นไปตั้งแต่พื้นเท้า
บทว่า
อโธ เกสมตฺถกา ได้แก่พิจารณาลงมาตั้งแต่ปลายผม
บทว่า
ตจปริยนฺตํ ได้แก่ โดยขวางอันหนังหุ้มไว้
บทว่า
ปูรนฺนานปฺปการสฺส อสุจิโน ปจฺจเวกฺขติความว่า เห็นว่ากายนี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีผมเป็นต้น
เห็นอย่างไร?
เห็นว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฯลฯ มูตร ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อตฺถิ แปลว่า มีอยู่
บทว่า
อิมสฺมึ ได้แก่ ในกายที่ตรัสว่าตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมา
อันหนังหุ้มโดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ นี้
บทว่า
กาเย คือในร่างกายอธิบายว่า สรีระเรียกว่ากาย เพราะเป็นบ่อเกิด
แห่งอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นและแห่งโรคนับร้อยมีโรคตาเป็นต้น
ชื่อว่าเป็นของน่าเกลียด เพราะหมักหมมของไม่สะอาดไว้
วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๘ อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ หน้าที่ ๑๖ - ๒๐